ก็แคจีวร … เลิกสับสนกันเสียที !

February 26, 2009 at 19.29 (Uncategorized)

ช่วงที่ผ่านมาในสื่อ มีการโจษขานและพูดถึงกันมากเกี่ยวกับสามเณรตุ๊ดเกย์ห่มจีวรไม่เหมาะสม  บางฅนบอกว่าเป็นการห่มคล้ายกิโมโนของญี่ปุ่น  บางฅนก็บอกว่าเป็นการห่มคล้ายชุดประจำชาติเกาหลี หลาย ๆ ฅนรู้สึกเบื่อหน่ายไปกับพฤติกรรมของเด็กตุ๊ดเกย์ที่เข้าไปบวชเป็นสามเณรแล้วประดิษฐ์การห่มจีวรที่ดูไม่เหมาะสมกับสมณะสารูป จนรู้สึกว่าตุ๊ดเกย์ที่เข้าไปบวชมักทำเรื่องไม่เหมาะสมอยู่เรื่อย

            e0b980e0b893e0b8a32

ผมอยากให้คุณผู้อ่านดูภาพการห่มจีวรของสามเณรที่ถูกพูดถึงกับการห่มจีวรของ ‘ครูบาศรีวิชัย’ ที่ผมนำภาพมาประกอบเปรียบเทียบกันให้ดูนะครับ  คุณผู้อ่านดูแล้วคิดยังไงครับ ?

 e0b8a8e0b8a3e0b8b5e0b8a7e0b8b4e0b88ae0b8b1e0b8a21       

ผมมองว่าการห่มจีวรแบบที่สามเณรกำลังห่มและกำลังเป็นที่โจษขานกันอยู่ในเวลานี้ไม่ใช่เรื่องผิดพระธรรมวินัย  ถ้าหากการห่มจีวรแบบสามเณรเป็นเรื่องผิดละก็  การห่มจีวรแบบท่านครูบาศรีวิชัยก็ต้องผิดไปด้วย เพราะเป็นการห่มแบบเดียวกัน  คือส่วนของชายผ้าเหลืองจะคาดปิดหน้าอกแทนที่จะแฉลบเฉียงขึ้นไหล่ซ้ายเหมือนอย่างที่พระภิกษุกระแสหลักมักจะห่มกัน

การห่มจีวรแบบสามเณรตุ๊ดเกย์ก็คือการห่มจีวรแบบที่พระล้านนารุ่นเก่า ๆ ท่านก็เคยห่มกันมาแล้ว ไม่เชื่อก็ลองไปค้นหาภาพเก่า ๆ ในยุคสมัยของครูบาศรีวิชัยมาดูก็จะพบว่ามีสามเณรรูปอื่น ๆ ก็ห่มจีวรแบบสามเณรตุ๊ดเกย์ที่ถูกพูดถึงเช่นเดียวกัน

จริง ๆ แล้วการห่มจีวรของพระภิกษุแบบที่ห่มกันอยู่ทั้ง ห่มดอง’ ‘ห่มคลุมหรือ ห่มเฉวียงบ่าล้วนแล้วแต่เป็นการห่มที่ผ่านการเปลี่ยนผ่านไปตามยุคสมัย  สมัยพุทธกาลดั้งเดิมจริง ๆ พระพุทธเจ้าและพระสาวกก็ไม่ได้ห่มจีวรจับจีบกันประณีตบรรจงขนาดนี้ แค่เพียงคลุมกายเฉย ๆ แล้วเที่ยวจาริกไปโปรดสัตว์

ดังนั้น ชาวพุทธที่ดีไม่น่าจะเอาเรื่องการห่มจีวรมาเป็นปัญหาคาใจ เพราะเป็นเพียงการรูปแบบการปกปิดร่างกายของนักบวช ขอเพียงห่มจีวรแลดูสวยงามไม่เวิกผ้าจนดูรุ่มร่าม หรือปล่อยให้จีวรอับเหงื่อจนส่งกลิ่นเหม็นสาบก็น่าจะเพียงพอแล้ว

และเมื่อเราหันไปดูการห่มจีวรของพระเถระผู้มีชื่อเสียงรุ่นก่อน ๆ ก็จะพบว่าจริง ๆ แล้วการห่มจีวรไม่ได้มีลักษณะการห่มที่ตายตัว  สามารถประดิษฐ์ประดอยตกแต่งการห่มให้แตกต่างกันไปได้  ยกตัวอย่างการห่มจีวรของ หลวงปู่บุดดาที่ผมนำภาพมาให้ดูประกอบ

buddha1

 

 

การห่มจีวรจึงไม่มีอะไรถูกไม่มีอะไรผิด เป็นเพียงรูปแบบการปกปิดร่างกายของพระภิกษุสงฆ์ที่แตกต่างกันไปตามยุคสมัย  แตกต่างกันไปตามความคิดความเชื่อของท้องถิ่นและบุคคล

 

 ก็แค่จีวรครับ  เลิกสับสนกันเสียที !

 

 

ส่วนกรณีการใช้ย่ามสีชมพูของสามเณร ก็เป็นเรื่องที่สามารถนำไปพูดต่อกันได้เป็นเรื่องเป็นราวว่าไม่เหมาะสม  ทั้ง ๆ ที่สีของย่ามที่พระภิกษุสามเณรสามารถใช้ได้นั้นไม่มีการจำกัดสี  ในคณะสงฆ์หรือแม้แต่ในพระธรรมวินัยเองไม่ได้มีการจำกัดสีของย่ามว่าสีใดควรใช้  สีใดไม่ควรใช้ นั่นหมายความว่าสามารถใช้ได้ทุกสี

 

ในงานฉลองพัดยศ หรืองานฉลองตราตั้งของพระเถระตามวัดต่าง ๆ ก็ยังมีการสั่งทำย่ามสีชมพูออกมาแจกเป็นของที่ระลึกแก่พระภิกษุที่มาร่วมงาน  สีชมพูจึงไม่ได้เป็นสีต้องห้ามต่อพระภิกษุสามเณรแต่อย่างใด

ก็แค่สีของย่ามครับ อย่าสับสน !

                                                                                         พงศ์ธรรม ธารา   เสาร์ 28 กุมภาพันธ์ 2552 

Permalink Leave a Comment

ทัวร์ภาพเชิงสังวาสของเพศเดียวกันในเขต กทม. และ จ.ราชบุรี

February 19, 2009 at 19.29 (Uncategorized)

ภาพสังวาสของชายกับหญิงเห็นมาเยอะแล้ว  . . .

แต่ภาพสังวาสของเพศเดียวกันล่ะ ?

 

สถาบันฅนนอกมีความภูมิใจ  ขอเชิญท่านชม

‘ภาพสังวาสของเพศเดียวกัน’   บนฝาผนังวิหารในเขตกรุงเทพ ฯ และ จ.ราชบุรี

เป็นรายการท่องเที่ยวขนาดวันเดียวจบ  (one day trip)

วราภรณ์  วิชญรัฐ  (ชื่อเล่น “วารุ” ) เจ้าของงานเขียนวิทยานิพนธ์ชื่อยาวเหยียด . . . ว่า

“เชิงสังวาสของเพศเดียวกันในจิตกรรมฝาผนังแบบแผนประเพณีไทย สมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 1-5)”  

“วารุ”  อาสาพาพวกเราไปชมภาพจิตกรรมประวัติศาสตร์ของเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน  ที่ปรากฏอยู่บนฝาผนังในสถาปัตยกรรมไทยโบราณ ในวิหารต่าง ๆ 3 แห่งด้วยกัน

……………………………………………………………………………………………………..

ศิลปะเชิงสังวาส หรือ ราคะศิลป์ที่ปรากฏ เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในช่วงสมัย รัชกาล 1  ถึง รัชกาลที่  3     และบางแห่งก็อยู่ในช่วงรัชกาลที่ 5 

งั้นก็แสดงว่าการมีเซ็กส์กับเพศเดียวกันก็เป็นสิ่งที่ไม่ได้ล้าสมัย  เพราะโบราณกาลก็มีมาแล้ว  ดังปรากฏอยู่ตามภาพจิตกรรมฝาผนังให้เราได้ดู ดังกล่าว

ศิลปะเชิงสังวาส มักมีปรากฏอยู่หลายแห่งด้วยกัน  เนื่องจากเป็นอิสระทางความคิดของช่างผู้วาดภาพ  ภาพเชิงสังวาสจึงเกิดมีขึ้นให้เราได้ศึกษา  ด้วยประการฉะนี้

……………………………………………………………………………………………..

ดังนั้นเอง ภาพจิตกรรมฝาผนังจึงมิได้ปรากฏเพียงแค่ภาพสังวาสระหว่างชายกับหญิงเท่านั้น  แต่มีระหว่างหญิงกับหญิง และชายกับชายด้วย

การชมจิตรกรรมฝาผนังครั้งนี้  วารุทำหน้าที่เป็นไกด์พาเราไปชมภาพจิตรกรรมที่พบ 2 แห่งในเขต กทม. และอีก 1 แห่งในเขต จ.ราชบุรี  ดังนี้

1.  วิหารพุทธไธสวรรค์  พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

2.  อุโบสถ  วัดสุวรรณาราม  (จรัญสนิทวงศ์ 32)

และ     3. อุโบสถ  วัดคงคาราม  จ. ราชบุรี

เหตุการณ์จะเกิดขึ้นในตอนเช้า เวลา 09.00 น. ของวันเสาร์ที่ 28  กุมภาพันธ์  2552  โดยเราจะพบกันที่ด้านหน้าหอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สนามหลวง     (หอประชุมที่เขาชอบจัดคอนเสิร์ตกันบ่อย ๆ นั่นแหละครับ)  บริเวณนั้นจะมีอนุสาวรีย์เดือนตุลาอันเล็ก ๆ ขนาดกระทัดรัด และมีม้านั่ง ขอให้เรามาเจอกันตรงนั้นแหละครับ

…………………………………………………………………………………………………..

เสาร์  28  กุมภาพันธ์  2552   เวลา 09.00 น. 

  • พบกันที่หน้าหอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (ดังกล่าวข้างต้น)
  • กิจกรรมแนะนำโครงการ  – แนะนำไกด์ – ทำความรู้จักกับผู้เข้าร่วมทุกท่าน
  • วารุ พูดถึงวิทยานิพนธ์ที่ตนเขียน  
  • เดินไปชมภาพสังวาสของเพศเดียวกันในพระที่นั่งพุทธไธสวรรค์
  • ผู้เข้าร่วมสามารถแลกเปลี่ยน  ซักถาม ได้ในช่วงนี้

เมื่อชมเสร็จ  เวลาประมาณ 10.30 น. จัดสรรกันขึ้นรถเพื่อน ๆ ไปเที่ยวชมภาพสังวาสกันต่อที่  วัดสุวรรณาราม จรัญสนิทวงศ์ 32      

  • 11.30 น.  ถึงวัดสุวรรณาราม  ชมภาพสังวาสภายในโบสถ์  พูดคุย แลกเปลี่ยน  
  • 12.30 น.  ออกเดินทางไป วัดคงคาราม จ.ราชบุรี
  • แวะรับประทานอาหารระหว่างทาง
  • 14.00 น.  ถึงวัดคงคาราม  จ.ราชบุรี  ชมภาพสังวาสภายในโบสถ์ พูดคุย แลกเปลี่ยน     
  • 15.30 น. เสร็จสิ้นการเที่ยวชม  – กล่าวคำอำลา – เดินทางกลับ
  • 17.00 น. พามาส่งที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ แยกย้ายกันกลับบ้าน

* การเดินทางครั้งนี้ . . .  เรามีเพื่อนที่มีรถเก๋ง 4 ที่นั่ง อย่างน้อย 3 คัน  ท่านที่สมัครเข้าร่วมการเดินทางท่องเที่ยวครั้งนี้ โปรดช่วยเหลือค่าน้ำมันร่วมกัน ท่านละ 100-200 บาท (โดยประมาณ)  ดังนั้น เราจึงรับผู้เข้าร่วมได้ไม่เกิน 15 ท่าน (รวมฅนขับรถด้วยก็เป็น 18 ท่าน)

* หรือหากท่านมีรถยนต์ส่วนตัว ก็สามารถขับรถของท่านมาร่วมเดินทางท่องเที่ยวด้วยกันได้เลย  (หากท่านมีรถยนต์ส่วนตัวมาเอง ก็จะเป็นการดี เพื่อช่วยเหลือเพื่อนร่วมทางท่านอื่น ๆ ที่ไม่มีรถ)  กรณีที่ท่านมีรถยนต์มาเอง โปรดแจ้งให้เราทราบล่วงหน้าจะเป็นการดี เพื่อเราจะได้ขยับ-ขยายจำนวนผู้เข้าร่วมได้เพิ่มมากขึ้น

* โปรดเตรียมไฟฉายมาด้วย เพราะภายในโบสถ์จะค่อนข้างมืด

สนใจกรุณาสำรองที่นั่งล่วงหน้าที่  คุณวรธรรม 084 667 2871  (กรณีนำรถมาเอง ก็สามารถแจ้งได้ที่หมายเลขนี้)

@@  กรณีที่ท่านนำรถมาเอง  แนะนำให้ไปจอดรถที่  “หน้าประตูทางเข้า ม.ธรรมศาสตร์ ด้านทิศใต้”   (ทางเข้าด้าน ถ.พระอาทิตย์)  ทางนั้นจะมีที่ว่างให้จอด

 

  • กิจกรรมการเรียนรู้เชิงท่องเที่ยวนี้  เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมอันหลากหลายของ  “สถาบันฅนนอก”   มีจุดมุ่งหมาย คือ ต้องการให้ฅนรักเพศเดียวกันได้กลับมาศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์รักเพศเดียวกันในท้องถิ่นที่บ้านเรามีอยุ่
  • เพื่อให้ฅนรักเพศเดียวกันได้เรียนรู้และมีการเจริญเติบโตด้านในของชีวิต  ผ่านการเรียนรู้ภาคประวัติศาสตร์ที่เราสามารถตั้งคำถาม และกล้าวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างท้าทาย
  • เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจว่า  รักเพศเดียวกัน  มีมานานแล้ว
  • เพื่อเป็นกิจกรรมพบปะ  สังสรรค์  การได้พบปะเพื่อนใหม่ที่มีวิถีชีวิตเหมือน ๆ กัน
  • เพื่อลบอคติเก่า – สร้างความเข้าใจใหม่ว่า “รักเพศเดียวกันเป็นเรื่องปรกติ”

 

  • หากท่านมีความสนใจ  แต่ยังมีความกังวลและลังเลเรื่องการพบปะกับฅนอื่น ๆ เนื่องจากไม่เคยเข้ากิจกรรมลักษณะนี้มาก่อน  หรือมีความไม่มั่นใจใด ๆ  ยินดีให้คำปรึกษาผ่านหมายเลขโทรศัพท์มือถือข้างต้นครับ

                                                                       ด้ ว ย พ ลั ง แ ล ะ ศ รั ท ธ า

                                                                           ส ถ า บั น ฅ น น อ ก

Permalink Leave a Comment